วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ระบบคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ (Business Information System)


ธุรกิจ   ความหมายโดยทั่วไปหมายถึงการดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหากำไร  อาทิ การขุดทรัพยากรแร่จากใต้ดินมาแปรสภาพให้เป็นสินค้าเช่นน้ำมันหรืออัญมณี  การใช้เครื่องจักรผลิตสินค้าต่าง ๆ ขายให้แก่ผู้ต้องการนำไปใช้ ฯ
แต่ ในบางครั้งมีผู้ใช้คำว่าธุรกิจโดยหมายความถึงการดำเนินงานทั่ว ๆ ไป เช่นกล่าวว่าธุรกิจของมหาวิทยาลัยคือการให้การศึกษาระดับอุดมศึกษา
è การดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหากำไร  + การดำเนินงานอื่น ๆ รวมถึง
    พาณิชยกรรม   (commerce)
    อุตสาหกรรม (industry)
    การบริการ (service)
    สาธารณูปโภค (utiilities)

ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการดำเนินงาน
1)      ระบบประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง  (Transaction Processing System , TPS) 
การใช้คอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐานที่สุดคือการใช้ติดตามกิจกรรมธุรกิจประจำวัน เช่น การขาย การรับเงิน การซื้อขายวัตถุดิบ การตัดสินใจเกี่ยวกับเครดิตลูกค้า การจัดส่งวัตถุดิบและสินค้าในโรงงาน ระบบเหล่านี้ช่วยในการบันทึกรายการปรับปรุง (transaction) ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานธุรกิจ
      ระบบประมวลผลรายการปรับปรุงนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบธุรกิจพื้นฐานของหน่วยงานธุรกิจต่าง ๆ ระบบนี้บันทึกกิจกรรมประจำทางธุรกิจต่าง ๆ เช่น การนำเงินรายรับฝากเข้าบัญชีธนาคาร การบันทึกการหักภาษีและจ่ายค่าภาษี การบันทึกการจ่ายเงินเดือนและหักค่าประกันสังคม หากเป็นโรงพยาบาลก็จะบันทึกเวชระเบียน การสั่งจ่ายยา การคิดเงินค่ายา ฯลฯ  ระบบนี้หากจัดทำขึ้นเป็นระบบคอมพิวเตอร์ก็จะสามารถช่วยในการบันทึก ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินธุรกิจได้   รวมแล้วมีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานและการบริหารทั้งระดับล่างและระดับบน แต่ส่วนใหญ่แล้วผลลัพธ์ที่ได้จากระบบนี้จะมีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานระดับล่างหรืองานประจำวันมากกว่า
2)      ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System, MIS)  เป็นระบบที่จัดทำ
ขึ้นเพื่อนำข้อมูลต่าง ๆ จากระบบประมวลผลรายการปรับปรุงมาจัดทำเป็นรายงานสารสนเทศสำหรับส่งให้ผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจ หรือใช้ในการจัดการต่าง ๆ  รายงานสารสนเทศนั้นอาจแบ่งเป็นรายงานสรุปโดยจำแนกลักษณะการสรุปตามแต่ผู้บริหารจะเห็นสมควร แบ่งเป็นรายงานกรณีพิเศษ (exceptional report)  ซึ่งมีสารสนเทศเกี่ยวกับความผิดปกติของการดำเนินงานไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือทางลบ   รายงานแนวโน้มแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมนั้นมีลักษณะอย่างไรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน   ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีประโยชน์อย่างมากต่อการบริหารงานเพราะช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นส่วนที่เป็นปัญหา หรือโอกาสได้อย่างรวดเร็ว และสามารถสนองตอบต่อปัญหาหรือโอกาสนั้นได้อย่างถูกต้องมากขึ้น
3)      ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร (Executive Information system,EIS)  เป็นระบบสารสนเทศที่จัด
ทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงใช้ โดยปกติแล้วระบบนี้มักจะจัดทำขึ้นหลังจากพัฒนาระบบ MIS แล้ว  นั่นคือเมื่อมีระบบ MIS ไว้ใช้งานแล้ว  หน่วยงานนั้นก็จะมีรายงานสารสนเทศต่าง ๆ สำหรับเสนอให้ผู้บริหารไว้ใช้งาน
รายงานเหล่านี้หากจัดทำเป็นรายคาบเช่นจัดทำขึ้นทุกเดือน ข้อมูลที่ปรากฏในรายงานก็จะมีความ
ถูกต้องเพียงเฉพาะในวันที่จัดทำรายงานนั้นเท่านั้น        ต่อมามาเมื่อเกิดรายการปรับปรุงอื่น ๆ ขึ้น รายงานนั้นก็จะเกิดความคลาดเคลื่อน
ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้คิดจัดทำรายงานสรุปและรายงานอื่น ๆ ที่ผู้บริหารสนใจ เก็บไว้ในฐานข้อมูลพิเศษที่ผู้บริหารจะค้นดูได้โดยใช้เครื่องปลายทาง  วิธีนี้จะช่วยให้ผู้บริหารตรวจสอบหรือค้นดูสารสนเทศเกี่ยวกับการดำเนินงานของหน่วยงานหรือบริษัทได้เป็นประจำและจะได้สารสนเทศที่มีความถูกต้องแม่นยำอยู่เสมอหากมีการจัดทำสารสนเทศสรุปไว้ตลอดเวลาเช่นกัน
4)      ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System, DSS)  เป็นระบบสำหรับช่วยให้ผู้บริหาร
ทดสอบการตัดสินใจของตนเองได้ว่า หากตัดสินใจเช่นนั้น ๆ จะเกิดอะไรขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงนิยมเรียกระบบ
นี้ว่าเป็นระบบวิเคราะห์เงื่อนไข  (what if?) 
หากย้อนกลับไป  TIS มีประโยชน์ตรงช่วยให้ผู้บริหารและผู้ปฎิบัติงานทราบสถานการณ์โดยทั่วไปของหน่วยงานหรือบริษัทแต่ระบบนี้ไม่ได้ระบุส่วนที่เป็นปัญหาหรือโอกาสให้ผู้บริหารทราบโดยตรง
ส่วนระบบ MIS และ EIS นั้นสามารถช่วยระบุส่วนที่เป็นปัญหาหรือโอกาสได้โดยรายงานกรณีพิเศษประเภทยกเว้น หรือรายการการพยากรณ์ เมื่อทราบปัญหาหรือโอกาสแล้วผู้บริหารต้องมีความสามารถจึงจะแก้ปัญหาหรือจัดการกับโอกาสนั้นได้ ระบบไม่สามารถบอกได้ว่าควรจะดำเนินการแก้ปัญหาอย่างไรผู้บริหารอาจคิดแก้ปัญหาได้หลายวิธี แต่อาจไม่ทราบว่าแต่ละวิธีจะใช้ได้ผลดีหรือไม่เพียงใด   ในกรณีเช่นนี้หากผู้บริหารมีระบบ DSS แล้วผู้บริหารก็อาจใช้ระบบนี้ทดสอบได้ว่าหากใช้วิธีการแก้ปัญหาแต่ละวิธีจะทำให้เกิดผลเช่นใด เมื่อทดสอบเสร็จแล้วผู้บริหารก็อาจเลือกใช้วิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมได้





โครงสร้างหลักของ  DSS ประกอบด้วยระบบฐานข้อมูล   ระบบจัดการตัวแบบการตัดสินใจ ซึ่งใช้เก็บรูปแบบ (model) ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของหน่วยงานหรือบริษัท และระบบจัดการโต้ตอบ
5)      ระบบผู้เชี่ยวชาญ  (Expert System,ES)  ระบบนี้เป็นการประยุกต์คอมพิวเตอร์ที่เกิดจากความ
ก้าวหน้าทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (artificial Intelligence, AI)  ซึ่งเน้นในด้านการทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานเหมือนมนุษย์โดยเฉพาะในด้านการใช้สมอง   ตัวอย่างก็คือการทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์จนถึงขั้นสนทนาโต้ตอบได้ คิดหาเหตุผลได้ การทำให้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้เอง    
       ผลงานวิจัยทางด้านนี้เริ่มประสบความสำเร็จเมื่อมีการจัดทำระบบผู้เชียวชาญ   ระบบนี้เก็บความรู้และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ไว้อย่างเป็นระบบในฐานความรู้ และมีส่วนสำหรับรับทราบข้อมูลอันเป็นปัญหาที่ต้องการให้ออกความเห็น เพื่อนำมาอนุมานหาคำตอบโดยใช้ความรู้ที่เก็บเอาไว้ในฐานข้อมูลนั้น
6)      ระบบสำนักงานอัตโนมัติ   (Office Automation System, OAS)  เป็นระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้
 การปฏิบัติงานในสำนักงานต่าง ๆสะดวกขึ้น

ประโยชน์ของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
1.      การประหยัดต้นทุน
งานบริหารสินค้าคงคลัง  (inventory management) 
2.      การเพิ่มผลิตภาพ
- เครื่องจักรที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานมาควบคุมการผลิตชิ้นงานได้มาก มีชิ้นงานเสียหายน้อยลงกว่าเมื่อใช้คนหรือเครื่องจักรธรรมดา
3.      การเพิ่มบริการ  (การบริการเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ)
คอมพิวเตอร์ช่วยให้หน่วยงานและบริษัทปรับปรุงคุณภาพการให้บริการแก่ลูกค้าให้ดียิ่งขึ้นไป
-          ระบบ ATM   
-          ระบบเวชระเบียน
-          การจัดทำบัตรประชาชนของกระทรวงมหาดไทย
4.      การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ
การดำเนินธุรกิจต่าง ๆ จำเป็นต้องร่วมมือกันมากขึ้น   
-  ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange, EDI)
5.      การเพิ่มความสะดวกในการปฏิบัติงาน
6.      การเพิ่มคุณภาพการตัดสินใจของผู้บริหาร
-          การใช้คอมพิวเตอร์จัดทำระบบสารสนเทศต่าง ๆ
7.      การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ทำได้อย่างรวดเร็ว    ต้นทุนการดำเนินงานน้อยกว่าคู่แข่ง กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ดีกว่า

****ทั้งนี้ ขึ้นกับ
-          การออกแบบงานประยุกต์ว่าสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจนั้นหรือไม่
-          ความพร้อมของบุคลากร
-          การจัดเก็บข้อมูลและการบันทึกข้อมูล
-          การยอมรับและการสนับสนุนจากผู้บริหาร
-          วิสัยทัศน์ของหน่วยงานในด้านการใช้คอมพิวเตอร์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น